Free Lines Arrow
Free Lines Arrow

วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 16 
วันศุกร์ ที่ 28 เมษายน 2560
เวลาเรียน  08.30-12.30 น.
เรียนเรื่อง
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)
บทบาทครู
•ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
•ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
•จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะทางสังคม

  • เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

กิจกรรมการเล่น

  • ยุทธศาสตร์การสอน
  • การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  • ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  • การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์

     2.ทักษะภาษา

  • การวัดความสามารถทางภาษา
  • การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
  • พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก
  • ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)

     3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

  • เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
  • การสร้างความอิสระ
  • ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  • หัดให้เด็กทำเอง
  • จะช่วยเมื่อไหร่
  • ทักษะการช่วยเหลือตนเอง 
  • ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  • การเข้าส้วม

      4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

  • เป้าหมาย
  • ช่วงความสนใจ
  • การเลียนแบบ
  • การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
  • การรับรู้ การเคลื่อนไหว
  • การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
  • ความจำ
  • การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ






ประเมินตัวเอง
เรียนได้สนุกและเข้าใจเนื้อหาในวันนี้พอสมคร
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียนและมีส่วนรวมกันทุกคน
ประเมินอาจารย์

อาจารย์สอนตรงเวลาแต่งกายสุภาพ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง




การบันทึกครั้งที่ 15 
วันศุกร์ ที่ 21 เมษายน 2560
เวลาเรียน  08.30-12.30 น.


ไม่มีการเรียนการสอน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปเคลื่อนไหวน่ารัก
การบันทึกครั้งที่ 14 
วันศุกร์ ที่ 14 เมษายน 2560
เวลาเรียน  08.30-12.30 น.


ไม่มีการเรียนการสอนปิดสงกรานต์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปเคลื่อนไหวน่ารัก
การบันทึกครั้งที่ 13 
วันศุกร์ ที่ 7 เมษายน 2560
เวลาเรียน  08.30-12.30 น.


ไม่มีการเรียนการสอน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปเคลื่อนไหวน่ารัก

การบันทึกครั้งที่ 12 
วันศุกร์ ที่ 31 มีนาคม 2560
เวลาเรียน  08.30-12.30 น.


ไม่มีการเรียนการสอน

การบันทึกครั้งที่ 11 
วันศุกร์ ที่ 24 มีนาคม 2560
เวลาเรียน  08.30-12.30 น.
เรียนเรื่อง
แต่ก่อนเรียนเป็นการแจกคะแนนสอบกลางภาคให้แต่ละคน

การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

  • เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน 
  • ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด  
  • เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
3. การบำบัดทางเลือก
การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)

  • การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies) 
  • โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS) 
  • เครื่องโอภา (Communication Devices) 
  • โปรแกรมปราศรัย



บทบาทของครู


  • ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู 
  • ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
  • จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
  • ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง 


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
2. ทักษะภาษา
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน






ประเมินตัวเอง
  วันนีรียนสนุกมากค่ะ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียนดีมากค่ะ
ประเมินอาจารย์
อาจารรย์สอนสนุก




การบันทึกครั้งที่ 10 
วันศุกร์ ที่ 17 มีนาคม 2560
เวลาเรียน  08.30-12.30 น.
เรียนเรื่อง
ก่อนเรียนมีการสอน
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
รูปแบบการจัดการศึกษา

  • การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
  • การศึกษาพิเศษ (Special Education)
  • การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
  • การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 

  • เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
  • การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป 
  • มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
  • ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
  • ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) 


  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
  • เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ 
  • เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ 
  • กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้ 
  • เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
  • เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน(Education for All)
  • การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
  • เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
  • เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน 
  • ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับเด็กปฐมวัย
  • ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
  • “สอนได้”
  • เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
   ครูไม่ควรวินิจฉัย

  • การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
  • จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก

  • เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
  • ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
  • เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  • พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
  • พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
  • ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
  • ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
  • ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา


ประเมินตัวเอง
   ก็ตั้งใจเรียนพอสมควรแต่ในตอนวาดภาพวาดอยากอยู่
ประเมินเพื่อน
  เพื่อนๆวาดรูปสวยและตั้งใจเรียนมาก
ประเมินอาจารย์
  อาจารย์สอนสนุกเข้าตรงเวลา





การบันทึกครั้งที่ 9 
วันศุกร์ ที่ 10 มีนาคม 2560
เวลาเรียน  08.30-12.30 น.
สัปดานี้เรียนเรื่อง
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  • มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ 
  • แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น 
  • มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
  • เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
  • เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ 
  • ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย



ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  • ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว 
  • ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป 
  • ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต 
การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)

  • ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
  • ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
  • กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
  • เอะอะและหยาบคาย
  • หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
  • ใช้สารเสพติด
  • หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration) 

  • จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที 
  • ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
  • งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
สมาธิสั้น (Attention Deficit)
  • มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
  • พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
  • มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
  • หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
  • เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
  • ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย(Function Disorder)
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder) 
  • การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation) 
  • การปฏิเสธที่จะรับประทาน 
  • รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
  • โรคอ้วน (Obesity) 
  • ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)
ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
  • ขาดเหตุผลในการคิด
  • อาการหลงผิด (Delusion)
  • อาการประสาทหลอน (Hallucination)
  • พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง
สาเหตุ

  • ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)
  • ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)






ประเมินตัวเอง
   วันนี้เรียนสนุกมากมีเพื่อนๆออกไม่สาธิต
ประเมินเพื่อน
  เพื่อนๆให้ความร่วมมือกับบทุกกิจกรรมดีมากค่ะ
ประเมินอาจารย์
  อาจาย์สอนสนุกเข้าสอนตรงเวลา


การบันทึกครั้งที่ 8 
วันศุกร์ ที่ 3 มีนาคม 2560
เวลาเรียน  08.30-12.30 น.
สัปดานี้เรียนเรื่อง
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้(Children with Learning Disabilities) 
    1. ด้านการอ่าน (Reading Disorder)
    2. ด้านการเขียน (Writing Disorder)
    3. ด้านการคิดคำนวณ (Mathematic Disorder)
    4. หลายๆ ด้านร่วมกัน
ออทิสติก (Autistic) 
"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว" 
ลักษณะของเด็กออทิสติก 
    - อยู่ในโลกของตนเอง
    - ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
    - ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน 
    -  ไม่ยอมพูด

    - เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ

เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติกองค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา
ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย 2 ข้อ
      - ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
      - ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
      - ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุก สนานร่วมกับผู้อื่น

     - ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น
พฤติกรมการทำซ้ำ
  • นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
  • นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  • วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
  • ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม
ไม่สามารถวินิจฉัยให้เข้าข่ายโรคใดๆได้
   ออทิสติกเทียม
  • ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ 
  • ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
  • ดูการ์ตูนในทีวี
Autistic Savant
  • กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker) จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking) 
  • กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker)จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)





ประเมินตัวเอง
  วันนี้ตั้งใจเรียนพอสมครวเรียนสนุก
ประเมินเพื่อน
  เพื่อนๆทุคนตั้งใจเรียนมาและสนุกกกับการเรียนมาก
ประเมินอาจารย์
  อาจารย์สอนสนุกเข้าสอนครงเวลา



การบันทึกครั้งที่ 7 
วันศุกร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560
เวลาเรียน  08.30-12.30 น.

สอบกลางภาค

การบันทึกครั้งที่ 6 
วันศุกร์ ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560
เวลาเรียน  08.30-12.30 น.


สัปดานี้ไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากไปแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยที่โคราช


การบันทึกครั้งที่ 5 
วันศุกร์ ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560
เวลาเรียน  08.30-12.30 น.


สัปดาห์นี้ได้ไปนั่งชมการประกวดมารยาทไทยของคณะศึกษาศาสตร์
การบันทึกครั้งที่ 4 
วันศุกร์ ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560
เวลาเรียน  08.30-12.30 น.


สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดราชการ
การบันทึกครั้งที่ 3 
วันศุกร์ ที่ 27 มกราคม 2560
เวลาเรียน  08.30-12.30 น.
สัปดานี้เรียนเรื่อง
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders)
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด: หมายถึง เด็กที่มีควาบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจน
1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders) 
2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (speech Flow Disorders)
3. ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders) 

ความบกพร่องทางภาษา 
    หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้
1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language) 
2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่าDysphasia หรือ aphasia

เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments)  
       1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
       2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
       3.อาการชักแบบ Partial Complex
       4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
       5.ลมบ้าหมู (Grand Mal)

ซี.พี. (Cerebral Palsy) 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เด็กซีพี

1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง(athetoid , ataxia)
3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed) 




ประเมินตัวเอง
  เรียนสนุกไม่เครียด
ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆตั้งใจและฟังอาจารย์มาก
ประเมินอาจารย์
   อาจารย์สอนสนุกเข้าใจง่าย




การบันทึกครั้งที่ 2 
วันศุกร์ ที่ 20 มกราคม 2560
เวลาเรียน  08.30-12.30 น.

สัปดานี้เรียนเรื่อง
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง 
มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา 

เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า “เด็กปัญญาเลิศ”
2.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง


เด็กปัญญาอ่อน
แบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
 1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
- ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ ได้เลย 
- ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34 
                - ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ
                - กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R (Custodial Mental Retardation)
3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
       - พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้ 
       - สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้ 
      - เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded) 
4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70 
              - เรียนในระดับประถมศึกษาได้ 
              - สามารถฝึกอาชีพและงานง่าย ๆ ได้ 
              - เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded) 
 เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
(Children with Hearing Impaired ) 
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก 
        1. เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB
        2. เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
        3. เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB 
        4. เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB 

เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
(Children with Visual Impairments) 
        - เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนราง
- มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
- สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
- มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา 
จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และ เด็กตาบอดไม่สนิท 
  1. เด็กตาบอด:ในระยะ 6/60 , 20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท 
  2. เด็กตาบอดไม่สนิท:อยู่ในระดับ 6/18, 20/60, 6/60, 20/200 หรือน้อยกว่านั้น 






ประเมินตัวเอง
   ตังเองก็ตั้งใจเรียนมากกว่าสัดาที่แล้ว
ประเมินเพื่อน
    เพื่อนๆตั้งใจเรียนทุกคน
ประเมินอาจารย์
   อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาสอนสนุก






การบันทึกครั้งที่ 1
วันศุกร์ ที่ 13 มกราคม 2560
เวลาเรียน  08.30-12.30 น.

เป็นสัปดาแรกที่ได้พบอาจารย์ แจกแนวการการสอน (Course  Syllabus) และอธิบายการเรียนการสอน ในแต่สัปดาที่จะเรียน


เริ่มเรียนในสัปดาเรื่อง

 - เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special needs )
- เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ( Early Childhood with special needs )

  ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
      1. ทางการแพทย์ :เด็กพิการ
       2. ทางการศึกษา :เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะ

สรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษหมายถึง

 - เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
  - มีสาเหตุจากสภาพความ บกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์
  - จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือการบำบัด และฟื้นฟู
  - จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละบุคล

พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
    1.  พัฒนาการ 
     2. เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

  ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
     1.ปัจจัยทางด้านชีวภาพ 
      2.ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด     
      3.ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด      
      4.ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด 

สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
    1. พันธุกรรม: เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด 
    2. โรคของระบบประสาท: 
            - เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย  
           - ที่พบบ่อยคืออาการชัก 
    3. การติดเชื้อ:
            -   การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก

           -   นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง
     4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม:โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
   5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด:การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน
    6. สารเคมี: 
           - ตะกั่ว
           - แอลกอฮอล์
           - Fetal alcohol syndrome, FAS
           - นิโคติน
   7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการขาดสารอาหาร: 
   8. สาเหตุอื่นๆ



อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
    - มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
     - ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป 
     
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
2. การตรวจร่างกาย
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ

การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ

          - แบบทดสอบ Denver II 
          - Gesell Drawing Test 
          - แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี สถาบันราชานุกูล 




ประเมินตัวเอง
   ในการเรียนในสัปดานี้เป็นสัปดาแรกจึงทำให้มีการพูดคุยกับเพื่อนมากกว่าฟังอาจาย์นิดหน่อย 

ประเมินเพื่อน
   เพื่อนทุกคนก็ตั้งใจฟังบางคุยบางเป็นบางครั้ง
ประเมินอาจารย์
   อาจรย์เป็นคนที่เข้าสอนตรงเวลาสอนสนุกทำให้การเรียนการสอนไม่เครียด